ม.มหิดล ค้นพบใช้ ยาเบาหวานรักษาโรคตาบอดทางพันธุกรรมจากอาการตาพร่ามัวเฉียบพลันจนกระทั่งตาบอดสนิทจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่วัยเยาว์ ทางเดียวที่จะหยุดความโชคร้ายนี้ได้ คือ ความพยายามในการสร้างองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างไม่ย่อท้อของเหล่านักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ผู้เป็นที่พึ่ง
ด้วย “ปัญญาของแผ่นดิน”
อันเป็นปณิธานอันแน่วแน่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นแรงผลักดันให้กับนักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในการมุ่งสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อมวลมนุษยชาติต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จากการค้นพบครั้งแรกของโลกโดยนำยาที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อจุดประกายแห่งความหวังให้ผู้ป่วยไม่ต้องถอดใจยอมจำนนต่อโชคชะตาได้เป็นผลสำเร็จ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคลอาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของผลงานวิจัย“การศึกษาผลของเมทฟอร์มินต่อความผิดปกติของไมโทคอนเดรียของเซลล์สร้างเส้นใยที่ได้จากผู้ป่วยโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอน”
ในฐานะผู้คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 26 พ.ศ.2562 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของความสำเร็จล่าสุดที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกMethodsX – journal elsevier (open access) เฉพาะส่วนของกระบวนการวิจัย เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงการค้นพบวิธีการรักษาโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอน (Leber heredity optic neuropathy (LHON) จากการทดลองใช้ยาเมทฟอร์มิน(metformin) ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่พึ่งอินซูลิน ครั้งแรกของโลก
แม้จะเป็นเพียงการทดลองกับเซลล์ผู้ป่วยโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนซึ่งเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการก็ตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการค้นพบครั้งแรกของโลกนี้คาดว่าจะสามารถขยายผลสู่การพัฒนายาเพื่อการรักษาโรคทางพันธุกรรมดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างไม่คาดฝันนี้ได้อย่างเห็นผลต่อไป
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล ได้อธิบายถึง สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนว่า มาจากการกลายพันธุ์ของยีนไมโทคอนเดรีย(mitochondrea) ซึ่งเป็นอวัยวะในระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายใจ และสร้างพลังงาน โดยมีสารพันธุกรรมอยู่ในตัวเองการกลายพันธุ์เกิดจากความบกพร่องในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่สร้างระดับพลังงาน ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่ต้องการใช้พลังงานสูง เช่น เซลล์ประสาทตา
สาเหตุที่โรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนมักพบในผู้ป่วยเพศชาย มากกว่าเพศหญิง เกิดขึ้นในช่วงปฏิสนธิในครรภ์มารดา โดยปกติแล้วอสุจิ (sperm) ที่มาจากบิดามักไม่ค่อยนำพาไมโทคอนเดรีย (mitochondrea) มาด้วย พันธุกรรมที่ผิดปกติจึงได้รับจากทางมารดาเป็นหลัก ซึ่งผิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคอื่นๆ
ผู้วิจัยได้ค้นพบว่า ยาเมทฟอร์มิน (metformin) ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีฤทธิ์ช่วยทำให้ไมโทคอนเดรียมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น จากการสนับสนุนการจัดเรียงตัวเป็นเครือข่ายเสริมความสามารถในการต้านภาวะอนุมูลอิสระจนสามารถคงอยู่และยืนหยัดในภาวะเครียดได้
ข่าวปลอม! ฉีดวัคซีน AstraZeneca เสี่ยงเป็นโรค “ฝีดาษลิง” ไม่เป็นความจริง
กรมควบคุมโรค ชี้แจงฉีดวัคซีนโควิด “AstraZeneca (แอสตร้าเซนเนก้า)” ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค “ฝีดาษลิง” ย้ำอย่าเชื่อข่าวปลอม ล่าสุดวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ทางเฟสบุ๊คแฟนเพจ ไทยรู้สู้โควิด ได้ออกมาเปิดเผยว่า กรมควบคุมโรค ได้ชี้แจงประเด็นข่าวลือ ผู้ที่ฉีดวัคซีน แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) มีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิง ว่าเป็นข้อมูลเท็จ โดยการฉีดวัคซีนโควิด ไม่มีผลต่อความเสี่ยงการเกิดโรคฝีดาษลิง แต่อย่างใด
กรมควบคุมโรค ชี้แจงประเด็นผู้ที่ฉีด วัคซีน AstraZeneca มีความเสี่ยงเป็นโรค ฝีดาษลิง เป็นข้อมูลเท็จ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ไม่มีความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคฝีดาษลิงแต่อย่างใด โดยเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ
ซึ่งคนก็สามารถติดโรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือถูกสัตว์ที่ติดเชื้อกัดข่วน และการประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า และสามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาแต่ สามารถควบคุมการระบาดได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ป้องกันได้ 85%
ซึ่งเจ้าหน้าที่แพทย์ในเวลส์และสกอตแลนด์ยังได้ออกมาแสดงความกังวลว่า เตียงผู้ป่วยหรือสถานที่รองรับผู้ป่วยอาจไม่พอ หากจำนวนผู้ป่วยใหม่ยังเพิ่มเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทางการมอบเงินเยียวยาให้กับประชาชน โดยในช่วงเดือนมีนาคม และ เดือนกรกฎาคม ทางการสหรัฐฯ ได้ทุ่มงบประมาณไปหลายล้านล้านบาท เพื่อเยียวยากิจการต่างๆ และครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ทั้งนี้มาตรการเงินเยียวยาต่างๆจะสิ้นสุดลงสิ้นเดือนนี้
โดยคนร้ายได้อ้างว่าทางสตูดิโอได้ขโมยนิยายของเขาไป และเป็นมูลเหตุจูงใจในการก่อเหตุครั้งนี้ นอกจากนี้เขายังถูกควบคุมตัวนาน 6 เดือน เพื่อตรวจสอบสภาพจิต
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป